ลูกอม ลูกกวาด
ลูกอม หมายถึง ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้อมหรือเคี้ยว
ที่มีการแต่งรสใดๆ มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก และอาจมีส่วนประกอบอื่นๆ
เพื่อปรุงแต่งกลิ่นรสด้วยหรือไม่ก็ได้
ประเภทของลูกอม
ลูกอม เป็นขนมหวานประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากในบรรดาเด็กๆ และวัยรุ่น แบ่งตามลักษณะทางกายภาพได้ 3 ประเภท คือ
ลูกอม เป็นขนมหวานประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากในบรรดาเด็กๆ และวัยรุ่น แบ่งตามลักษณะทางกายภาพได้ 3 ประเภท คือ
1. ลูกกวาด (Hard
candy) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะแข็ง
เมื่อเคี้ยวจะแตก อาจมีการสอดไส้ด้วยก็ได้ ซึ่งผลิตโดยการละลายน้ำตาล
กลูโคสไซรัป น้ำ นำมาเคี่ยวจนได้ที่นวดผสมกันแล้วรีดอัดเป็นเม็ด
2. ขนมเคี้ยว (Chewy candy) ได้แก่ คาราเมล (Caramels) ทอฟฟี่ ลักษณะจะนิ่มจนถึงค่อนข้างแข็ง ผลิตโดยการนำน้ำตาลกลูโคสไซรัป น้ำ ไขมัน หรือส่วนประกอบอื่นปั่นให้เข้ากันจนมีลักษณะเป็นอิมัลชั่นก่อน จึงนำมาเคี่ยวจนได้ที่ นวดผสม และรีดอัดเม็ด
3. ซอฟต์แคนดี้ (Soft candy) ได้แก่ ครีม (Creams), ฟัดส์ (Fudges), มาร์ชแมลโล (Marshmallow) ผลิตภัณฑ์จะมีลักษณะนิ่มอ่อนตัวมากกว่าขนมเคี้ยว เนื่องจากมีปริมาณความชื้นมากกว่า
ส่วนประกอบที่สำคัญของลูกอม
ลูกอมเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบหลักๆ ได้แก่ สารให้ความหวาน, สารแต่งรสหรือกลิ่น สารแต่งสี และอื่นๆ
- สารให้ความหวาน ได้แก่ น้ำตาลทราย กลูโคสไซรัป รวมทั้ง น้ำตาล แอลกอฮอล์ เช่น ซอร์บิทอล แมนนิทอล โดยจะมีผลต่อความหวาน รวมทั้งความใสของลูกอมด้วย
- สารแต่งรสหรือกลิ่น ได้แก่ วัตถุแต่งกลิ่นรส ทั้งที่เป็นธรรมชาติ เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันจากเปลือกส้ม หรือจากการใช้สารเคมีผสมให้เกิดกลิ่นที่ต้องการ เช่น ครีมโซดา กลิ่นองุ่น หรือส่วนประกอบที่แต่งกลิ่นรสได้ เช่น กาแฟผงในลูกอมรสกาแฟ หรือนมผงในทอฟฟี่นม เป็นต้น
- สารแต่งสี ลูกอมโดยปกติจะเกิดสีน้ำตาล อันเนื่องจากความร้อน ที่ใช้ในการผลิตในช่วงเคี่ยวน้ำตาล แต่บางครั้งผู้ผลิตจำเป็นต้องใส่สีต่างๆ เพื่อดึงดูดใจของผู้ซื้อ เช่น แต่งสีแดงสำหรับลูกอมกลิ่นสตรอว์เบอร์รี่ เป็นต้น
- ส่วนประกอบอื่นๆ ได้แก่ กรดอินทรีย์ กรดที่นิยมใช้ในการผลิตลูกอม ได้แก่ กรดซิตริก กรดตาร์ตาริก และกรดมาลิก โดยใช้เพื่อควบคุมความหวาน แต่งรสและยืดอายุการเก็บผลิตภัณฑ์
ลูกอมเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบหลักๆ ได้แก่ สารให้ความหวาน, สารแต่งรสหรือกลิ่น สารแต่งสี และอื่นๆ
- สารให้ความหวาน ได้แก่ น้ำตาลทราย กลูโคสไซรัป รวมทั้ง น้ำตาล แอลกอฮอล์ เช่น ซอร์บิทอล แมนนิทอล โดยจะมีผลต่อความหวาน รวมทั้งความใสของลูกอมด้วย
- สารแต่งรสหรือกลิ่น ได้แก่ วัตถุแต่งกลิ่นรส ทั้งที่เป็นธรรมชาติ เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันจากเปลือกส้ม หรือจากการใช้สารเคมีผสมให้เกิดกลิ่นที่ต้องการ เช่น ครีมโซดา กลิ่นองุ่น หรือส่วนประกอบที่แต่งกลิ่นรสได้ เช่น กาแฟผงในลูกอมรสกาแฟ หรือนมผงในทอฟฟี่นม เป็นต้น
- สารแต่งสี ลูกอมโดยปกติจะเกิดสีน้ำตาล อันเนื่องจากความร้อน ที่ใช้ในการผลิตในช่วงเคี่ยวน้ำตาล แต่บางครั้งผู้ผลิตจำเป็นต้องใส่สีต่างๆ เพื่อดึงดูดใจของผู้ซื้อ เช่น แต่งสีแดงสำหรับลูกอมกลิ่นสตรอว์เบอร์รี่ เป็นต้น
- ส่วนประกอบอื่นๆ ได้แก่ กรดอินทรีย์ กรดที่นิยมใช้ในการผลิตลูกอม ได้แก่ กรดซิตริก กรดตาร์ตาริก และกรดมาลิก โดยใช้เพื่อควบคุมความหวาน แต่งรสและยืดอายุการเก็บผลิตภัณฑ์
จากส่วนประกอบของลูกอมดังกล่าวข้างต้น
มีเรื่องที่น่าสนใจสำหรับผู้บริโภค ได้แก่ ในเรื่องของสารแต่งสีในลูกอม ซึ่งสีที่ใช้ผสมในลูกอมตามกฎหมายแล้วผู้ผลิตจะต้องใช้สีที่ได้จากธรรมชาติหรือสีผสมอาหาร
ซึ่งการใช้สีผสมอาหารนั้นก็ต้องใช้ตามปริมาณที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วย
อย่างไรก็ตามยังพบว่ามีผู้ผลิตบางรายรู้เท่าไม่ถึงการณ์
แทนที่จะใช้สีผสมอาหารผสมในลูกอม อาจจะใช้สีที่มิใช่สีผสมอาหาร เช่น สีย้อมผ้า
สีย้อมกระดาษ สีย้อมเส้นใยต่างๆ ผสมในลูกอม
ซึ่งสีเหล่านี้เป็นสีที่กฎหมายไม่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหาร
เนื่องจากมีความบริสุทธิ์ต่ำและมีโลหะหนักเจือปนอยู่ในปริมาณสูง
หากสะสมในร่างกายมากๆ ในปริมาณหนึ่งก็จะเกิดอันตรายได้
นอกจากนี้ผู้ผลิตบางรายก็อาจจะใช้สีผสมอาหาร แต่ใช้เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนดไว้
กรณีเช่นนี้ก็อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้เช่นกัน
สีที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ผสมในขนมเด็ก
1. สีจากธรรมชาติ เป็นสีที่ได้จากพืช จึงเป็นสีที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับใช้ผสมในขนมเด็ก เพื่อให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน เช่น สีเขียวจากใบเตย
ตัวอย่างสีจากธรรมชาติ
* สีเขียว ได้จาก ใบเตย ใบย่านาง
* สีเหลือง ได้จาก ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ฟักทอง ดอกกรรณิการ์
* สีแดง ได้จาก ครั่ง ดอกกระเจี๊ยบ มะเขือเทศสุก พริกแดง
* สีน้ำเงิน ได้จาก ดอกอัญชัน
* สีดำ ได้จาก ดอกดิน กาบมะพร้าวเผา
* สีน้ำตาล ได้จาก น้ำตาลเคี่ยวไหม้ เนื้อในเมล็ดโกโก้
* สีม่วง ได้จาก ดอกอัญชัน ถั่วดำ
2. สีผสมอาหาร ได้จากการสังเคราะห์สารเคมี เนื่องจากการใช้สีธรรมชาติอาจไม่สะดวก จึงได้มีการผลิตสีสังเคราะห์สำหรับผสมอาหารแทนการใช้สีจากธรรมชาติ แม้กฎหมายกำหนดอนุญาตให้ใช้สีสังเคราะห์สำหรับผสมอาหารได้ แต่หากใช้ในปริมาณมากและบ่อยครั้ง ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายได้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงได้มีการกำหนดปริมาณสีที่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหารประเภท เครื่องดื่ม ไอศกรีม ลูกกวาด และขนมหวาน ดังนี้
2.1 สีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้บริโภค 1 กิโลกรัม
* สีแดง ได้แก่ เอโซรูบีน, เออริโทรซิน
* สีเหลือง ได้แก่ ตาร์ตราซีน, ซันเซ็ตเย็ลโลว์ เอ็ฟ ซี เอ็ฟ
* สีเขียว ได้แก่ ฟาสต์ กรีน เอ็ฟ ซี เอ็ฟ
* สีน้ำเงิน ได้แก่ อินดิโกคาร์มีน หรือ อินดิโกติน
2.2 สีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้บริโภค 1 กิโลกรัม
* สีแดง ได้แก่ ปองโซ 4 อาร์
* สีน้ำเงิน ได้แก่ บริลเลียนห์บลู เอ็ฟ ซี เอ็ฟ
1. สีจากธรรมชาติ เป็นสีที่ได้จากพืช จึงเป็นสีที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับใช้ผสมในขนมเด็ก เพื่อให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน เช่น สีเขียวจากใบเตย
ตัวอย่างสีจากธรรมชาติ
* สีเขียว ได้จาก ใบเตย ใบย่านาง
* สีเหลือง ได้จาก ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ฟักทอง ดอกกรรณิการ์
* สีแดง ได้จาก ครั่ง ดอกกระเจี๊ยบ มะเขือเทศสุก พริกแดง
* สีน้ำเงิน ได้จาก ดอกอัญชัน
* สีดำ ได้จาก ดอกดิน กาบมะพร้าวเผา
* สีน้ำตาล ได้จาก น้ำตาลเคี่ยวไหม้ เนื้อในเมล็ดโกโก้
* สีม่วง ได้จาก ดอกอัญชัน ถั่วดำ
2. สีผสมอาหาร ได้จากการสังเคราะห์สารเคมี เนื่องจากการใช้สีธรรมชาติอาจไม่สะดวก จึงได้มีการผลิตสีสังเคราะห์สำหรับผสมอาหารแทนการใช้สีจากธรรมชาติ แม้กฎหมายกำหนดอนุญาตให้ใช้สีสังเคราะห์สำหรับผสมอาหารได้ แต่หากใช้ในปริมาณมากและบ่อยครั้ง ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายได้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงได้มีการกำหนดปริมาณสีที่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหารประเภท เครื่องดื่ม ไอศกรีม ลูกกวาด และขนมหวาน ดังนี้
2.1 สีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้บริโภค 1 กิโลกรัม
* สีแดง ได้แก่ เอโซรูบีน, เออริโทรซิน
* สีเหลือง ได้แก่ ตาร์ตราซีน, ซันเซ็ตเย็ลโลว์ เอ็ฟ ซี เอ็ฟ
* สีเขียว ได้แก่ ฟาสต์ กรีน เอ็ฟ ซี เอ็ฟ
* สีน้ำเงิน ได้แก่ อินดิโกคาร์มีน หรือ อินดิโกติน
2.2 สีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้บริโภค 1 กิโลกรัม
* สีแดง ได้แก่ ปองโซ 4 อาร์
* สีน้ำเงิน ได้แก่ บริลเลียนห์บลู เอ็ฟ ซี เอ็ฟ